ประวัติความสําคัญ และกิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน วันอาสาฬหบูชา
ประวัติความสําคัญ และกิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน วันอาสาฬหบูชา
อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" หมายถึง "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย และตรงกับวันเพ็ญ เดือนแปด(๘) ตามปฏิทินจันทรคติของไทย
เดือนแปด(๘) ในสมัยก่อนนั้นใน ไม่มีการประกอบพิธีการบูชาวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทย จนกระทั่งปี พ.ศ.2501 พิธีบูชาในวันอาสาฬหบูชา จึงได้เริ่มขึ้น ซึ่งคณะสังฆมนตรีได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายก เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2501 กำหนดให้มี “พิธีอาสาฬหบูชา” เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ตามคำแนะนำของ พระธรรมโกศาจารย์
วันที่ใช้จัดงานวันอาสาฬหบูชา คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) หากปีใดมีเดือนแปดสองหน (ปีอธิกมาส) ให้เลื่อนไปเดือนแปดหลังจัดพิธี
วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
เนื่องมาจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) คือ วันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือ วันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ ซึ่งเป็นวันที่ “พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก เป็นปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” แก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5
และ การแสดงธรรมครั้งนั้น ทำให้ 1 ใน 5 ปัญจวัคคีย์ คือ โกณฑัญญะ เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรม คือ การบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน จึงขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ทำให้ “พระอัญญาโกณฑัญญะ” กลายเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก ด้วยเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล เป็นคนแรก หรือ เป็นพระสงฆ์องค์แรกนั่นเอง
ทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้ง พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์
ภาพจาก pexels.com
วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ “วันพระธรรมจักร” คือ วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก
เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาให้ชาวโลกได้รับรู้ ว่ามีศาสนาพุทธเกิดขึ้นแล้ว และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถ แสดงพระธรรมที่ตรัสรู้ได้ จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์ คือพระพุทธเจ้าเป็นผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้และปฏิบัติตามได้ ซึ่งถือว่าพระองค์ทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น "สัมมาสัมพุทธะ"และ "วันพระสงฆ์" คือ วันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
วันอาสาฬหบูชา จึงถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนา เพื่อให้ชาวพุทธต่างระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า และยึดมั่นในหลักความดี
ภาพจาก pexels.com
o หากมีบัญชี Facebook สามารถใช้ในการสมัครสมาชิกได้
o กรอกอีเมล/เบอร์โทรศัพท์ และรหัสผ่านที่ใช้เข้า Facebook
o กด “ตกลง” ก็จะเป็นสมาชิกเว็บไซด์พระพันธุ์ทิพย์ดอทคอม ได้ทันที
o ใส่ชื่ออีเมล และ รหัสผ่าน และ กดตกลง
o เข้าไปที่อีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ ตรวจสอบอีเมลจาก prapantip@gmail.com เมื่อรับอีเมลแล้วให้กดที่ลิงค์ที่อยู่ในอีเมล เพื่อเข้าระบบ (บางครั้งอีเมล อาจไม่ได้อยู่ที่ Inbox กรุณาตรวจสอบที่ Junk Mail)
o ในครั้งต่อไป สามารถเข้าระบบ โดยกรอกอีเมล และ รหัสผ่าน ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้
ต้อง เห็นรายละเอียดชัดเจน ทุกด้าน ทั้งองค์
ควร ลงรูปทุกด้าน (หน้า หลัง ด้านข้าง ด้านบน ด้านล่าง)
ห้าม ลงรูปไม่คมชัด ไม่ละเอียด เบลอ
ห้าม วางพระเครื่อง รวมหลายๆ องค์ ในภาพเดียว
ห้าม ลงรูปพระไม่ซ้ำกันใน 1 ประกาศ
สิ่งสำคัญ: ห้ามลงพระซ้ำกับพระที่เคยลงประกาศไปแล้ว และยังแสดงอยู่ในหน้าเว็บไซด์
สินค้าที่ห้ามลงประกาศ: ชุดพระในคอ, งานทำบุญ , ข่าวพระเครื่อง, โฆษณาร้านพระ, ใบรับประกันร้านพระ, ข่าวสารพระเครื่อง, งานประกวด หรือ สินค้าอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง หากพบว่าลงพระไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามประเภท หรือ ลงสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้อง ทางเว็บไซด์พระพันธุ์ทิพย์ดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการลบรายการพระนั้นๆ ออก โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
อ่านเพิ่มเติมที่ ลงรูปพระเครื่องแบบไหน ที่ทำให้คนเข้าชมเยอะ
- ประเภทพระ (เลือกประเภทพระ 1 รายการ) ดูรายละเอียดประเภทพระ
- ชื่อพระ
- ราคา (เฉพาะตัวเลขเท่านั้น)
- รายละเอียดพระ
- รูปพระ (ลงรูปพระได้ 1-5 รูป)
- รูปถ่ายบัตรประชาชน+หน้าสมุดบัญชีธนาคาร 1 รูป
- พื้นที่/จังหวัด
- ผู้ขาย (ชื่อ/นามสกุล)
- เบอร์โทรศัพท์ (เฉพาะตัวเลขเท่านั้น)
- Line id
สถานะ | รายละเอียด |
---|---|
รอตรวจสอบ | อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล |
ไม่ผ่านการตรวจสอบ | เนื่องจาก ภาพไม่ชัด / ข้อมูลไม่ครบ /ผิดเงื่อนไข (เช่น ลงพระซ้ำ) เมื่อไม่ ผ่านการตรวจสอบจะลบประกาศออกทันที หากต้องการแก้ไขหรือเพิ่มเติมให้ลงใหม่เท่านั้น |
กำลังใช้งาน | พระแสดงหน้าเว็บไซด์แล้ว จนถึงวันที่ ..../...../..... |